หลักการ

บริษัท ศุภาลัย จํากัด (มหาชน) ตระหนักดีว่าบุคคลทุกคนต่างมีคุณค่าและ ศักดิ์ศรีในตนเองอย่างเท่าเทียมกัน จึงให้ความสําคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนอันเป็นคุณธรรมพื้นฐานของการทํางานและการอยู่ร่วมกัน ได้กําหนดให้การยึดมั่นในคุณธรรมเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมอันพึงประสงค์ในองค์กร ทําให้มั่นใจได้ว่าวิธีการดําเนินธุรกิจของบริษัทและวิถีการปฏิบัติงานของพนักงานอยู่บนหลักการเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน บริษัทฯ สนับสนุนและเคารพสิทธิมนุษยชนตามที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations' Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGP) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทํางานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labour Organization (ILO) Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work โดยบริษัทฯ วางกรอบในการปฏิบัติตามนโยบายฉบับนี้เป็นไปตามกฎหมายและหลักมาตรฐานสากล อาทิ กระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน การสนับสนุนส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เป็นต้น นโยบายฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของความทุ่มเทและความพยายามในการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างมีจริยธรรมและด้วยความรับผิดชอบมาอย่างต่อเนื่อง

ขอบเขต

นโยบายฉบับนี้ใช้กับการดําเนินธุรกิจของ บริษัท ศุภาลัย จํากัด (มหาชน) และบริษัทย่อย นอกจากนี้ นโยบายฉบับนี้จะได้ถูกส่งต่อให้กับคู่ค้าธุรกิจเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินธุรกิจของตน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพันธมิตรธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานในการเคารพสิทธิมนุษยชน นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงแผนการควบรวมและซื้อกิจการ ซึ่งบริษัทจะกําหนดให้ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหนึ่งในเกณฑ์ประกอบการพิจารณาตัดสินใจการขยายธุรกิจของบริษัทต่อไป

นิยาม

“บริษัทฯ” หมายถึง บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

“บริษัทย่อย” หมายถึง บริษัทที่บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

(1)

ถือหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงเกินกว่าร้อยละ 50 ของจํานวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทนั้น ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม และ/หรือ

(2)

มีอํานาจควบคุมคะแนนเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมและ/หรือ

(3)

มีอํานาจควบคุมการแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการตั้งแต่กึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดย

“บริษัทร่วมทุน” หมายถึง บริษัทใด ๆ ที่บริษัทกํากับดูแลให้เป็นไปตามที่ได้ตกลงร่วมกันซึ่งระบุไว้ใน สัญญาร่วมทุน และไม่ใช่บริษัทย่อยของบริษัทฯ

“พนักงาน” หมายถึง พนักงานและคนงานทุกระดับของบริษัท

“คู่ค้าธุรกิจ” หมายถึง หมายถึง ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่บริษัท รวมถึงผู้รับเหมาแรงงานและบริการ

“พันธมิตรธุรกิจ” หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับการดําเนินธุรกิจของบริษัท อาทิ ผู้ บริโภค ลูกค้า ชุมชน องค์กรภาคประชาสังคม เป็นต้น

แนวปฏิบัติ

เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งองค์กร และเสริมสร้างความมั่นใจว่าพนักงานทุกคนและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มจะได้รับการปฏิบัติ ปกป้อง และเคารพสิทธิพื้นฐานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ในขณะเดียวกัน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออก การสมาคม และการเจรจาต่อรอง การได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม รวมถึงการให้ความสําคัญกับการคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง เพื่อนําไปสู่การบรรเทาความเสี่ยงในประเด็นการค้ามนุษย์ แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก โดยมุ่งมั่นขจัดการเลือกปฏิบัติโดยสิ้นเชิง และต่อต้านการคุกคามในทุกรูปแบบ บริษัทฯ จึงได้กําหนดแนวทางปฏิบัติไว้ ดังนี้

  • เคารพและปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างสม่ําเสมอ พร้อมกําหนดแนวทางหรือมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยให้ทุกหน่วยงานมีหน้าที่กํากับดูแลและบริหารความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของบริษัทรวมถึงห่วงโซ่คุณค่าที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน

  • พัฒนากระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process) ของการดําเนินธุรกิจของบริษัทรวมถึงห่วงโซ่คุณค่าอย่างสม่ําเสมอ อันประกอบไปด้วย การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงในเรื่องสิทธิมนุษยชนดังกล่าวข้างต้น การระบุประเด็นและการดําเนินการเพื่อบรรเทาความเสี่ยงเหล่านั้น ซึ่งนําไปสู่การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนและผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากการดําเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงห่วงโซ่คุณค่า โดยมุ่งเน้นความสําคัญไปยังกลุ่มเปราะบาง อาทิ ผู้หญิง เด็ก กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มศาสนา แรงงานข้ามชาติ แรงงานรับเหมา ชุมชน ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เพศทางเลือก ลูกค้า เป็นต้น ตลอดทั้งการบูรณาการบริหารจัดการความเสี่ยง การติดตามการดําเนินการ และการสื่อสารรายงาน

  • นํากระบวนการตรวจประเมินสถานะด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process) ไปประยุกต์ใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบในแผนการควบรวมและซื้อกิจการในอนาคตของบริษัท

  • พัฒนาช่องทางการสื่อสารแบบสองทางเพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ และการปฏิบัติตนต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงเพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถแสดงความคิดเห็นสะท้อนปัญหาและแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน หากมีเหตุการณ์หรือการกระทําที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบข้อมูลหรือข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนหลังจากที่ได้รับแจ้งจากพนักงาน และ/หรือผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อดําเนินการพัฒนา บรรเทา หรือแก้ไขผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเหมาะสม

  • สื่อสารและส่งต่อนโยบายนี้ให้คู่ค้าธุรกิจและพันธมิตรธุรกิจ เพื่อใช้เป็นแนวทางการบริหารจัดการต่าง ๆ และป้องกันการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • ส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่ค้าธุรกิจและพันธมิตรธุรกิจมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจและพันธกิจอย่างมีจริยธรรมและด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพซึ่งกันและกัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาร่วมกันสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ความมุ่งมั่นต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ได้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านนโยบายการบริหาร การจัดการด้านต่าง ๆ ที่สําคัญของบริษัท อาทิ

  • จรรยาบรรณของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน

  • จรรยาบรรณคู่ค้า

  • นโยบายการกํากับดูแลกิจการ

  • นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

  • นโยบายและแนวปฏิบัติในการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิของสตรี

  • วิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายว่าด้วยความปลอดภัย ชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • นโยบายว่าด้วยการปฏิบัติต่อคู่ค้า

  • นโยบายการเลิกจ้างอย่างมีความรับผิดชอบ

  • นโยบายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • นโยบายว่าด้วยการล่วงละเมิด การคุกคาม

  • นโยบายว่าด้วยการปฏิบัติต่อลูกค้า

  • นโยบายว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น

  • นโยบายว่าด้วยการปฏิบัติต่อพนักงาน

การบริหารจัดการข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในการปฏิบัติต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน เสมอภาค ให้เกียรติและให้โอกาสอย่างเท่าเทียม ควบคู่ไปกับการให้ความสําคัญในการดูแลชุมชนและสังคมบนพื้นฐานของความ ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี ตลอดจนการส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจและพันธมิตรธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกันอย่างรับผิดชอบและการเคารพสิทธิพื้นฐานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกันซึ่งสอดคล้องกับแนวทางสากลด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืน